Custom Search

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่อง ที่เด็กออกทิสติกอยากให้คุณรู้ (ต่อ)

9. พยายามหาดูสิว่าอะไรทำให้หนูหมดสภาพ

          ไม่ว่าจะเรียกว่าหมดสภาพ กรี๊ด โวยวาย หรืออะไรก็ตามที่อยากเรียนนั้น เป็นเรื่องที่แย่ที่สุดสำหรับหนูยิ่งกว่าสำหรับคุณ สภาวะนี้เกิดเพราะประสาทสัมผัสด้านหนึ่งด้านใดของหนูเกิดอาการล้มเกินรับ หากคุณสามารถหาให้ได้ว่าทำไมหนูจึงหมดสภาพ ก็สามารถป้องกันได้ ทางที่ดีคุณควรบันทึก วัน เวลา สภาพแวดล้อม ผู้คน กิจกรรมของหนู เอาไว้อย่างละเอียด ไม่นานคุณก็อาจค้นพบสาเหตุก็ได้

          กรุณาจำไว้ว่า พฤติกรรมทุกอย่างเป็นวิธีสื่อสารชนิดหนึ่ง อาการของหนูเป็นการสื่อ คือบอกแทนคำพูดได้ว่า หนูกำลังมองว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในโลกของหนูอย่างไร

          คุณพ่อคุณแม่ ช่วยจำไว้ด้วยว่า พฤติกรรมซ้ำซากอาจเป็นเพราะปัญหาที่มองไม่เห็นเรื่องยา การแพ้อาหารบางประเภท หรือความไวต่อสารบางอย่าง อาการนอนไม่หลับ และอาการที่อาหารไม่ย่อยก็ส่งผลอย่างมากต่อพฤติกรรมของหนู

10. ขอให้รักหนูอ่างไม่มีเงื่อนไข

          กรุณาเลิกคิดว่า "ถ้าเพียงแต่แดงจะ ... " และ "ทำไมเชอรี่ไม่..." แม้คุณเองก็เถอะ คุณก็ไม่สามารถทำทุก ๆ อย่างที่พ่อแม่ต้องการให้ทำได้ใช่ไหม และคุณคงจะไม่ชอบหรอก หากมีคนเตือนใจคุณอยู่เรื่อง ๆ  ว่าคุณทำไม่ได้ คุณทำไม่ได้ หนู่ไม่ได้เลือกที่จะเป็นออทิสติก จึงกรุณาพิจารณาด้วยว่า สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นกับหนู ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณ หากคุณไม่ช่วยหนู โอกาสที่หนูจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ และดูแลตัวเองได้ดีนั้นมีน้อยมาก หากคุณสนับสนุนและแนะนำหนู ความเป็นไปได้ นั้นย่อมมากกว่าที่คุณคิด และหนูสัญญาว่า มันจะคุ้มค่าจริง ๆ

          และ ท้ายสุด สามคำที่ควรจำคือ อดทน อดทน และอดทน หากคุณจะพยายามมองภาวะออทิสติกของหนูเป็นความสามารถที่แตกต่าง มากกว่าจะเป็นความพิการนั้นจะดีมาก ช่วยมองข้ามสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นข้อจำกัด และมองให้เห็นพรที่สวรรค์ได้มอบให้แก่พวกหนู อาจจะจริงที่พวกหนูสบตาไม่เก่น หรือคุยไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่คุณคุณได้สังเกตบ้างไหมว่าพวกหนูไม่โกหก ไม่โกงในการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมอื่น ๆ ไม่นินทาว่าร้ายเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน หรือไม่ตัดสินว่าใครเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงหน้าเลย และแน่นอนที่หนูไม่มีทางที่จะเป็นไมเคิลจอร์แดน นักบาสระดับโลกคนต่อไป แต่ด้วยความละเอียด ช่างสังเกต และความสามารถมีสมาธิไม่สิ้นสุดของหนู หนูอาจจะกลายเป็นไอน์สไตน์ หรือโมสาร์ท หรือแวงโกะห์ คนต่อไปก็ได้ เพราะทั้งสามผู้ยิ่งใหญ่นี้น่าจะเป็นออทิสติกไม่มากก็น้อย.....


วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่อง ที่เด็กออกทิสติกอยากให้คุณรู้ (ต่อ)


          6. ภาษาพูดนั้นเป็นทักษะที่ยากมากสำหรับหนู หนูจะมองทุกอย่างเป็นภาษาภาพมากกว่า

               ช่วยอธิบายโดยการแสดงให้หนูดู ดีดว่าจะบอกหนูด้วยคำพูดเฉย ๆ และกรุณาเตรียมพร้อมที่จะทำซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง การที่คุณทำซ้ำ ๆ จะช่วยให้หนูเรียนรู้ได้เร็ว
               การทำตารางภาพ เพื่อแสดงว่าหนูต้องทำอะไรในวันนั้น จะเป็นประโยชน์กับหนูมาก เพราะจะช่วยให้หนูสามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและช่วยหนูจัดเวลา ทำอย่างที่คุณต้องการได้
               แม้เมื่อหนูโตขึ้น หนูก็จังต้องใช้ตารางภาพอยู่ แต่ "ระดับการแสดงภาพ" อาจจะเปลี่ยนไป ก่อนที่หนูจะอ่านออกเขียนได้ หนูต้องการตารางงานพร้อมภาพถ่าย หรือภาพว่าดง่าย ๆ พอหนูโตขึ้น ก็ทำเป็นตารางผสมกับคำและภาพก็ได้ หรือพอหนูโตมากแล้ว ก็ทำเป็นตารางคำก็พอ


          7. โปรดเน้นและสนับสนุนสิ่งที่หนูทำได้ มากกว่าจะไปเน้นสิ่งที่หนูทำไม่ได้

               สิ่งที่เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป คือ หนูไม่สามารถเรียนรู้ในสภาวะการที่หนูถูกมองว่าหนูไม่ดีพอและต้องการ "การจัดการ" การจะลองทำสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะ "สร้างสรรค์" เพียงใด แต่หากอยู่ภายใต้สภาวะที่แน่ใจว่าหนูจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแน่นอน จึงกลายเป็นสิ่งที่หนูพยายามหลบเลี่ยง จงมองหาจุดแข็งของหนูและคุณก็จะพบมันแน่นอน มีมากกว่าหนึ่งวิธีในการทำทุกอย่าง


          8. โปรดช่วยหนูด้วยเรื่องการเข้าสังคม

               อาจจะดูเหมือนหนูไม่ต้งการเล่นกับเด็กอื่น ๆ แต่อันที่จริงหนูไม่รู้ว่าจะเริ่มคุยอย่างไง ถ้าคุณช่วยสิ่งเสริมให้เด็กคนอื่นชวนหนูเข้าไปเล่นเตะบอลหรือโยนห่วงด้วย หนูจะเต็มใจอย่างมาก
               หนูจะทำได้ดีมากในกิจกรรมการเล่นที่มีจุดเริ่มและจุดจบที่ชัดเจน หนูไม่รู้จักวิธีการ "อ่าน" หน้าตาท่าทาง ภาษากาย หรืออารณ์ของคนอื่น ๆ ดังนั้น หนูจึง ต้องการคนช่วยบอกตลอดว่าวิธีตอบโต้ที่ถูกต้องคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น หากหนูหัวเราะตอนสุดาตกลงมาจากไม้ลื่น ไม่ใช่เพราะว่าหนูคิดว่ามันตลก แต่เป็นเพราะหนูไม่รู้วิธีการแสดงออกที่ถูกต้อง ก็สอนให้นูเข้าไปถามว่า "ไม่เป็นไรใช่ไหม" สิ


                                                                                                                                                 (ต่อ)

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่อง ที่เด็กออกทิสติกอยากให้คุณรู้ (ต่อ)


          3. กรุณาแยกแยะให้ออกว่า "ไม่ทำ" (หนูปฎิเสธที่จะไม่ทำ) และ "ไม่สามารถ" (หนูทำไม่ได้จริง ๆ) นั้นไม่เหมือนกัน

          สิ่งท้าทายหนูอย่างยิ่ง คือ ภาษาและคำศัพท์ที่ใช้ตอบรับหรือแสดงออก ไม่ใชว่าหนูไม่ฟังคำสั่ง แต่เมื่อคุณส่งเสียงสั่งหนูมาจากอีกฟากหนึ่งของห้อง หนจะได้ยินว่าอย่างนี้ " *#$#.@!%  ต้อม #.*#@$# " คุณควรที่จะเดินมา บอกหนูตรง ๆ ว่า "เก็บหนังสือเข้าโต๊ะเถอะ ต้อม ได้เวลาไปทานข้าวกลางวันแล้ว" คำพูดอย่างนี้จะบอกหนูได้ชัดเจนว่าคุณอยากให้หนูทำอะไร และจะเกิดอะไรต่อไป ทำให้ง่ายขึ้นที่หนูจะทำตามได้ถูก


          4. หนูเป็นนักคิดที่ตรงไป ตรงมา แปลว่า หนูจะตีความภาษาตามคำที่พูด

          หนูจะงงมากหากคุณบอกหนูว่า "เพลา ๆ ไว้ อย่าเร็วนัก" เมื่อคุณตั้งใจจะหมายความว่า "กรุณาอย่างวิ่ง" อย่าบอกหนูว่า "เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก" ในเมื่อไม่มีกล้วยซักใบให้เห็น และคุณตั้งใจจะพูดว่า "งานนี้จะง่ายมากสำหรับหนู" เวลาคุณพูดว่า "จอยไวเหมือนลมกรด" หนูจะเห็นว่าเด็กกำลังเล่นกับน้ำกรด กรุณาบอกว่า "จอยวิ่งได้เร็วมาก" ดีกว่า

          ทั้งคำเปรียบเทียบ คำล้อ คำผวน คำอ้างอิง ความหมายสองแง่สองง่าม ภาพพจน์ การประชดประชัน หนูจะไม่รู้เรื่องและตีความไม่ได้เลย


          5. กรุณาอดทนหากหนูใช้คำพูดไม่ถูก

          เพราะหนูจะรู้ศัพท์น้อยจนไม่อาจบรรยายความรู้สึกตัวเองได้ดี หนูอาจจะกำลังหิวจัด หงุดหงิด กลัว หรือสับสน แต่ตอนนี้ คำเหล่านี้อยู่เกินความสามารถของหนูที่จะนำมาใช้ใช้ ควรดูภาษากายของหนูไว้ให้ดี ๆ หากหนูหลีกหนี หงุดหงิด หรือแสดงอาการอื่น ๆ เป็นการบอกให้รู้ว่า ชักเริ่มไม่ดีแล้ว หรืออาจจะมีอีกแบบหนึ่ง เมื่อฟังหนูพูดแล้วอาจเหมือน "ท่านอาจารย์น้อย" หรือ ดาราดาวรุ่ง ที่สามารถแสดงปาฐก โดยใช้คำยาก ๆ หรือบทสนทนาที่ดูเกินวัยหนูอย่างมาก เพราะหนู่รู้ว่าหากมีคนพูดกับหนู หนูต้องตอบ บทพูดเหล่านี้หนูจำมาจากหนังสือ ทีวี หรือคำคนอื่น ๆ เห็นอาการที่เรียกว่า "เอคโคเลเลีย" อันที่จริง หนูอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่หนูพูดอยู่เลยก็ได้ หนูรู้แต่ว่า เป็นอะไรที่ถือว่าเป็นคำตอบได้ ไม่ต้องไปตอบอย่างอื่น และหนูจะรอดตัวไปได้


                                                                                                                                    (ต่อ)


วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่อง ที่เด็กออกทิสติกอยากให้คุณรู้ (ต่อ)

       2. กระบวนการรับรู้ของหนูนั้นสับสน

         การบูรณาการการรับรู้ทางประสาททั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจยากที่สุด ในเรื่องของออทิสติก แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด หมายความว่า การมองเห็น รับรู้เสียง รับรู้กลิ่น รส และสัมผัสของทุก ๆ วัน ที่คุณอาจจะแทบไม่สังเกตเห็น กลับกลายเป็นเรื่องที่ทำให้หนูต้องเจ็บปวดทางกายจริง ๆ สภาพแวดล้อมที่หนูอาศัยอยู่ต้องกลายเป็นนรกสำหรับหนู

         หูของหนูอาจจะไวเป็นพิเศษ เสียงคนนับโหลกำลังพูดพร้อม ๆ กันกลายเป็นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ลำโพงกำลังประกาศส่วนลดพิเศษอยู่ปาว ๆ เสียงดนตรีจากเครื่องเสียงหรือทีวีก็ดังลั่น เครื่องบดกำลังปั่นกาแฟอยู่โครมคราม เครื่องคิดเงินทำเสียงขลุกขลัก คลิกคลัก เครื่องหั่นเนื้อเป็นแผ่นส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด เด็กร้องไห้ลั่น รถเข็นล้อดังออดแอด ไฟนีออน มีเสียงหึ่งอยู่ตลอดเวลา สมองหนูกรองเสียงที่เข้ามาไม่ได้ และหนูมีอาการ "สำลักเสียง" จนหนูต้องหนีไปให้ไกลที่สุด

         สัมผัสกลิ่นของหนูอาจจะไวเกินเหตุ ปลาบนแผงที่ไม่สดนักส่งกลิ่นฉุนที่คุณอาจไม่ได้กลิ่น ผู้ชายที่ยืนอยู่ข้าง ๆเราอาจจะไม่ได้อาบน้ำวันนี้ แผนกเนื้อกำลังแจกไส้กรอกให้ชิมเด็กอ่อนที่แม่กำลังเข็นอยู่ข้างหน้าอึออกมาใส่แพมเพอรส์กลิ่นหึ่ง พนักงานบริเวณชั้นวางองแถวสามก็กำลังใช้น้ำยาล้างพื้นเหม็น ๆ ทำความสะอาดโหลแตงกวาดองที่ตกลงมาแตก หนูทนไม่ไหวแล้ว หนูคลื่นไส้อยากอาเจียนเต็มประดา

         เพราะจอรับแสงตาหนูอาจจะไวมาก ประสาทสัมผัสนี้จึงอาจจะเป็นสิ่งแรกที่นูจะทนไม่ได้ แสงนีออนที่นวลตาสำหรับคุณอาจจัดจ้าเกินไปสำหรับหนู แล้วยังส่งเสียงหึ่ง ๆ ดังสนั่นอีก ห้องทั้งห้องอาจจะดูเหมือนจะเต้นได้ และหนูจะปวดตามาก แสงที่กะพริบจะสะท้องไปทุกทางและทำให้ภาพดูบิดเบี้ยวไปหมดที่ว่างก็ดูวูบไหวไปมา แสงจากหน้าต่างสว่างจนปวดตา และมีของเยาะไปหมดจนลายตา ไม่รู้จะมองตรงไหน พัดลมบนเพดานก็หมุนไม่หยุด คนก็เดินไปเดินมาไม่รู้จบ สิ่งเหล่งนี้ส่งผลต่อการทรงตั และการรับรู้สิ่งรอบด้านของหนู จนหนูรับไม่ได้และไม่รู้ตัวเลยว่าหนูอยู่ที่ไหนกันแน่



                                                                                                                                                    (ต่อ)

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่อง ที่เด็กออทิสติกอย่างให้คุณรู้

โดย     เอลเลน   นอทบอมห์
เรียบเรียงจากบทความ   Ten Things Every Child With Autism Wishes You Knew  โดย Ellen Notbohm 2005                                   


                                                                บางวัน...สิ่งที่อาจทำนายได้...คือไม่อาจทำนายอะไรได้
                                                                และสิ่งที่แน่นอนที่สุด...คือความไม่แน่นอน
     เรื่องออทิซึมเป็นเรื่องชวนสงสัย แม้สำหรับคนที่ต้องอยู่กับเรื่องนี้ทุกวัน...เด็กออทิสติกภายนนอกอาจดูปกติ แต่ความประพฤติเด็กกลับดูสับสน ยุ่งเหยิง และยุ่งยาก

     ครั้งหนึ่ง...เคยคิดกันว่าออทิซึมเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ แต่ขณะนี้มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าคำกล่าวไม่จริง  ข้อมูลใหม่ ๆ มากมายปรากฎขึ้นมาแม้ขณะที่คุณกำลังอ่านเรื่องนี้อยู่  ทุก ๆ วันเด็กออทิสติกแสดงให้เราเห็นว่าเขาสามารถเอาชนะอาการออทิซึม สร้างสิ่งทดแทนสิ่งที่บกพร่องไปหนือสามารถจัดการกับประเด็นต่าง ๆ ที่ท้าทายมากของโรคไดด้ หากเราสามารถสอนให้เด็กของเราเข้าใจปัจจัยพื้นฐานที่สุดของออทิซีม ก็จะสามาถช่วยเขาให้สามารถพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นอิสระ และทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่สังคมได้
    
     ออทิซึมเป็นโรคที่ซับซ้อนอย่างมาก แต่เพื่อความเข้าใจจึงกลั่นกรองลักษณะของโรคลงมาให้เหลือสี่ด้านคือ
          1. กระบวนการรับรู้ที่ไม่ปกติ
          2. การพูด หรือการใช้ภาษาได้ช้า
          3. การขาดทักษะการเข้าสังคม
          4. ประเด็นโดยรวม เรื่องความเคารพตัวเอง

     แม้ปัญหาทั้งสี่ข้อนี้ดูเหมือนจะเป็นอาการของเด็กปกติทั่ว ๆ ไป แต่พึงรำลึกไว้เสมอว่า ออทิสซึมเป็นโรคที่เป็นสเปคตรัม หรือมีหลายระดับ จนไม่มีเด็กสองคน หรือแม้ยี่สิบคน ที่จะมีอาการเหมือนกันทุกอย่าง แต่ละคนก็จะอยู่ในแต่ละระดับของเสปคตรัม ทำให้ทั้งพ่อแม่ ครู และผุู้ดูแล ก็จะต้องมีความเข้าใจอยู่ที่ต่างระดับกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก ก็จะมีความต้องการที่แตกต่างกัน
    
     และนี่คือ 10 เรื่องที่เด็กออทิสติกอย่างให้คุณรู้

          1. อันดับแรกสุดและสำคัญสุด คือ หนูเป็นเด็ก

               การที่หนูเป็นออทิสติกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของลักษระนิสัยของหนู ไม่ใช่เป็นเรื่องที่กำหนดว่าหนูเป็นอย่างไร คุณเป็นคนที่มีความคิด ความรู้สึกความสามารถมากมายหรือเปล่า หรือเป็นเพียงคนอ้วน (น้ำหนักเกิน) , ตาสั้น (สวมแว่น) หรือเก้นก้าง (มือไม้เกะกะ เล่นกีฬาไม่เก่ง) สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งแรกที่หนูเมื่อพบคุณ แต่ก็ไม่ได้แปลว่านั่นคือคุณ ใช่ไหม
               ในฐานะผู้ใหญ่ คุณสามารถควบคุมได้ว่าคุณต้องการกำหนดให้ตัวคุณเป็นอย่างไร คุณอาจพัฒนาคุณลักษณะหนึ่งขึ้นมา และทำให้เด่นชัดจนคนอื่นรับรู้ แต่ในฐานะเด็ก หนูยังกำลังพัฒนาตนไปเรื่อย ๆ ทั้งคุณทั้งหนูก็ไม่รู้ว่าหนูสามารถจะทำอะไรได้บ้าง การเจาะจง กำหนดว่าหนูเป็นโน่นนี่ อาจจะก่อปัญญาเรื่องความคาดหวังที่ต่ำเกินไป และถ้าหากหนูจับได้เมื่อไรว่า คุณไม่ได้คิดหรอกว่าหนูจะทำได้ คำตอบที่เป็นธรรมชาติที่สุดของหนูก็คือ แล้วหนูจะทำมันไปทำไมล่ะ

                                                                                                                                                     (ต่อ)