Custom Search

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บุคคลที่มีความพิการทางด้านการมองเห็น

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

          1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการมองเห็นในระดับน้อย ยังสามารถอ่านอักษรพิมพ์ขยายใหญ่ได้ หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ระหว่างหรือถึงและลานสายตาแคบกว่า 30 องศา ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองเห็นเลือนรางนี้ ภายหลังจากการแก้ไขแล้วจะมองเห็นได้บ้างและสามารถใช้สายตาได้บ้าง ในระยะ 20/70 หมายความว่า บุคคลนี้จะมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุตโดยคนตาปกติจะมองเห็นได้ในระยะ 70 ฟุตการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนร่วมกับเด็กปกติ เช่น การเตรียมความพร้อมทางการเคลื่อนไหว วุฒิภาวะทางสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ความความสามารถทางภาษา ความสามารถที่จะทำงานได้โดยไม่มีการควบคุมตลอดจนทักษะพื้นฐานที่ใกล้เคียงกับระดับชั้นที่เด็กจะเข้าเรียนร่วม

          2. ตาบอดสนิท หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นในระดับมาก สายตาตามองอะไรไม่เห็น หรือผู้ที่มีความสามารถในการมองเหลืออยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นการสูญเสียการมองเห็น 2/200 หรือน้อยกว่านั้นหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดี เมื่อแก้ไขแล้วควรอยู่ในระดับ หรือจนบอดสนิท และลานสายตาแคบกว่า 20 องศา ต้องสอนให้อ่านหนังสือเบรลล์ ฟังเทปหรือแผ่นเสียง


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีความบกพร่องทางมองเห็น
     1. ขยี้ตาบ่อย ๆ เหมือนพยายามทำให้ภาพที่ไม่ชัดให้ปรากฎชัดขึ้น
     2. เวลามองวัตถุมักป้องตา
     3. ถือหนังสือไว้ใกล้ตามาก หรือก้มหน้าใกล้หนังสือ
     4. กระพริบตาถี่มากกว่าปกติ
     5. มีความยุ่งยากในการอ่านหนังสือ หรือการทำงานที่ต้องใช้สายตา
     6. ตามักช้ำแดงและมีน้ำตา ขี้ตากรัง
     7. ทำตาหรี่ หรือขยี้ตาขณะที่มอง
     8. มักพูดว่าตัวหนังสือหรือรูปภาพเต้น หรือมองอะไรมัวๆ หรือเป็นภาพซ้อน
     9. ไม่สามารถอ่านหนังสือเรียงตามบรรทัดได้นาน มักอ่านหนังสือกลับไปกลับมา
     10. เวลาอ่านหนังสือมักจะสับสนเมื่ออ่านอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ก,ถ,ภ หรือ บ กับ ป หรือ อ กับ ฮ
     11. ลูกตาดำมีลักษณะผิดปกติ

สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น การเกิดความบกพร่องทางการเห็น จนถึงตาบอด อาจมีสาเหตุใหญ่ๆประการ คือ
     1. ความผิดปกติของดวงตา เกิดจากความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตาเป็นเหตุให้ สายตาสั้น สายตายาว หรือเกิดมีปัญหาจากการปรับภาพที่เลนส์ในดวงตา เป็นต้น ความผิดปกติอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การไม่ถนอมสายตาหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
     2. ความผิดปกติของสายตา เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ จากอุบัติเหตุต่างๆที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จากฤทธิ์ยาบางประเภทตลอดจนใช้ยาผิด โรคบางอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น เนื้องอกที่ตา โรคเหล่านี้อาจทำให้ตาบอดหรือมีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรง

ลักษณะที่มีความผิดปกติของสายตา
     1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
     2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศรีษะ มองเห็นไม่ชัดเจนในบางครั้ง
     3. เวลามองวัตถุในระยะไกลๆต้องขยี้ตาหรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
     4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆโดยกลัวจะสดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
     5. ไม่สนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
     6. มักขยี้ตาบ่อยๆ
     7. ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สายตา
     8. กระพริบตาบ่อยๆ
     9. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
     10. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้

ป้องกันและแก้ไข
     1. ทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินเอสูง เช่น ไข่ นม ผักสดใบเขียว ผลไม้ น้ำมันตับปลา
     2. หญิงมีครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ต้องระวังรักษา สุขภาพอนามัยให้ดี ไม่ควรเลือกซื้อยามาใช้เอง ไม่ควรฉายแสงเอกซเรย์ที่มดลูก
     3. รักษาความสะอาดของร่างกายและอนามัยของตา โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์
     4. ระวังอุบัติเหตุที่ดวงตาของเด็กเล็กๆ
     5. ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ ข้อพิการและโรคจากต่อมไร้ท่อ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
     6. ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง
     7. เด็กตาเข ตาเหล่ อาจแก้ไขรักษา โดยการใช้แว่นหรือผ่าตัดได้
     8. เมื่อตาได้รับอุบัติเหตุต้องปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี และอย่าใช้ยาหยอดตา

ไม่มีความคิดเห็น: