Custom Search

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บุคคลที่มีความพิการทางด้านการมองเห็น

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

          1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการมองเห็นในระดับน้อย ยังสามารถอ่านอักษรพิมพ์ขยายใหญ่ได้ หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ระหว่างหรือถึงและลานสายตาแคบกว่า 30 องศา ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองเห็นเลือนรางนี้ ภายหลังจากการแก้ไขแล้วจะมองเห็นได้บ้างและสามารถใช้สายตาได้บ้าง ในระยะ 20/70 หมายความว่า บุคคลนี้จะมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุตโดยคนตาปกติจะมองเห็นได้ในระยะ 70 ฟุตการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนร่วมกับเด็กปกติ เช่น การเตรียมความพร้อมทางการเคลื่อนไหว วุฒิภาวะทางสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ความความสามารถทางภาษา ความสามารถที่จะทำงานได้โดยไม่มีการควบคุมตลอดจนทักษะพื้นฐานที่ใกล้เคียงกับระดับชั้นที่เด็กจะเข้าเรียนร่วม

          2. ตาบอดสนิท หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นในระดับมาก สายตาตามองอะไรไม่เห็น หรือผู้ที่มีความสามารถในการมองเหลืออยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นการสูญเสียการมองเห็น 2/200 หรือน้อยกว่านั้นหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดี เมื่อแก้ไขแล้วควรอยู่ในระดับ หรือจนบอดสนิท และลานสายตาแคบกว่า 20 องศา ต้องสอนให้อ่านหนังสือเบรลล์ ฟังเทปหรือแผ่นเสียง


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีความบกพร่องทางมองเห็น
     1. ขยี้ตาบ่อย ๆ เหมือนพยายามทำให้ภาพที่ไม่ชัดให้ปรากฎชัดขึ้น
     2. เวลามองวัตถุมักป้องตา
     3. ถือหนังสือไว้ใกล้ตามาก หรือก้มหน้าใกล้หนังสือ
     4. กระพริบตาถี่มากกว่าปกติ
     5. มีความยุ่งยากในการอ่านหนังสือ หรือการทำงานที่ต้องใช้สายตา
     6. ตามักช้ำแดงและมีน้ำตา ขี้ตากรัง
     7. ทำตาหรี่ หรือขยี้ตาขณะที่มอง
     8. มักพูดว่าตัวหนังสือหรือรูปภาพเต้น หรือมองอะไรมัวๆ หรือเป็นภาพซ้อน
     9. ไม่สามารถอ่านหนังสือเรียงตามบรรทัดได้นาน มักอ่านหนังสือกลับไปกลับมา
     10. เวลาอ่านหนังสือมักจะสับสนเมื่ออ่านอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ก,ถ,ภ หรือ บ กับ ป หรือ อ กับ ฮ
     11. ลูกตาดำมีลักษณะผิดปกติ

สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น การเกิดความบกพร่องทางการเห็น จนถึงตาบอด อาจมีสาเหตุใหญ่ๆประการ คือ
     1. ความผิดปกติของดวงตา เกิดจากความเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตาเป็นเหตุให้ สายตาสั้น สายตายาว หรือเกิดมีปัญหาจากการปรับภาพที่เลนส์ในดวงตา เป็นต้น ความผิดปกติอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การไม่ถนอมสายตาหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์
     2. ความผิดปกติของสายตา เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ จากอุบัติเหตุต่างๆที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จากฤทธิ์ยาบางประเภทตลอดจนใช้ยาผิด โรคบางอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น เนื้องอกที่ตา โรคเหล่านี้อาจทำให้ตาบอดหรือมีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรง

ลักษณะที่มีความผิดปกติของสายตา
     1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
     2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศรีษะ มองเห็นไม่ชัดเจนในบางครั้ง
     3. เวลามองวัตถุในระยะไกลๆต้องขยี้ตาหรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
     4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆโดยกลัวจะสดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
     5. ไม่สนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
     6. มักขยี้ตาบ่อยๆ
     7. ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สายตา
     8. กระพริบตาบ่อยๆ
     9. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
     10. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้

ป้องกันและแก้ไข
     1. ทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินเอสูง เช่น ไข่ นม ผักสดใบเขียว ผลไม้ น้ำมันตับปลา
     2. หญิงมีครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ต้องระวังรักษา สุขภาพอนามัยให้ดี ไม่ควรเลือกซื้อยามาใช้เอง ไม่ควรฉายแสงเอกซเรย์ที่มดลูก
     3. รักษาความสะอาดของร่างกายและอนามัยของตา โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์
     4. ระวังอุบัติเหตุที่ดวงตาของเด็กเล็กๆ
     5. ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ ข้อพิการและโรคจากต่อมไร้ท่อ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
     6. ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง
     7. เด็กตาเข ตาเหล่ อาจแก้ไขรักษา โดยการใช้แว่นหรือผ่าตัดได้
     8. เมื่อตาได้รับอุบัติเหตุต้องปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี และอย่าใช้ยาหยอดตา

นิค วูจิซิค (Nick Vujicic) คนพิการหัวใจไม่ยอมแพ้



     "นิค วูจิซิค" (Nick Vujicic) หนุ่มออสเตรเลีย วัย 26 ปี เกิดมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2525 "นิค" เกิดมาไม่ได้สมประกอบเหมือนคนอื่น เขาไม่มีแขนทั้งสองข้าง มีแต่ขาสั้นๆ ข้างเดียวที่มีนิ้วโป้งโผล่ออกมาสองนิ้วเท่านั้น



     "นิค" เป็นคนมองโลกในแง่ดี เขาคิดเสมอว่า ความบกพร่องทางร่างกายของเขา คือการทดลองที่พระเจ้ามอบให้ แม้ว่าคนในครอบครัวของเขาต่างเสียใจที่ "นิค" เกิดมาด้วยสภาพนี้ แต่ "นิค" กลับทำให้ทุกคนได้เห็นว่า เขาเป็นเหมือนคนปกติ มีร่างกายแข็งแรง เพียงแต่ไม่มีแขนและขาเท่านั้น

     "นิค" บอกพ่อแม่ว่า เขาอยากใช้ชีวิตตามปกติ และไม่ต้องการให้ใครมาดูแลเป็นพิเศษ นั่นทำให้ "นิค" ใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาๆ ทั่วไป "นิค" สามารถต่อสู้กับกฎหมายที่ระบุไว้ว่า ห้ามคนพิการเข้าเรียนในโรงเรียนชั้นนำได้สำเร็จ ทำให้เขากลายเป็นคนพิการรุ่นแรกๆ ที่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนระดับแถวหน้า แม้เขาจะต้องเผชิญกับ "สายตา" ของคนอื่นที่มองมา และสื่อให้เห็นว่าเขาเป็นคนแปลกแยก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ "นิค" ท้อถอยแต่อย่างใด เพราะได้รับกำลังใจที่ดีจากครอบครัว ที่คอยกระตุ้นให้เขารู้สึกดี และเข้มแข็งขึ้นนั่นเอง ในที่สุด "นิค" ก็ฝ่าฟันอุปสรรคก้าวแรกไปได้อย่างสวยงาม เขาสำเร็จการศึกษา คว้าปริญญาตรีด้านการค้า เอกการวางแผนด้านการเงินและบัญชี มาได้สำเร็จ และเป็นการลบคำสบประมาทของใครหลายๆ คน ที่มองว่า "นิค" ไม่น่าจะทำได้

     "นิค" รู้ดีว่าความสำเร็จของเขาเกิดขึ้นได้ เพราะมีกำลังใจที่ดี และไม่ท้อแท้ นั่นทำให้ "นิค" มีความปรารถนาที่จะแบ่งปันและส่งต่อกำลังใจเหล่านั้น ให้กับเพื่อนมนุษย์ที่กำลังท้อแท้ สิ้นหวัง อย่างที่เขาเคยประสบมาก่อน

     ด้วยเหตุนี้ทำให้ "นิค" ได้เดินทางไปบรรยายสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก เขาพยายามปลุกให้ทุกคนลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกครั้งหนึ่ง โดย "นิค" มักพูดเสมอว่า หากวันหนึ่งใครก็ตามที่ล้มและไม่มีกำลังจะลุกขึ้น ไม่มีความหวังเกิดขึ้นอีกแล้ว ขอให้หันกลับมามองชีวิตของเขาที่ไม่มีแขน ไม่มีขา ก่อนหน้านี้ไม่มีใครคิดว่าเขาจะลุกขึ้นมาได้ แต่เขาก็พยายามที่จะลุกขึ้นมา ครั้งแรก ครั้งที่สองสาม … หรือแม้จะเป็นครั้งที่ร้อย ครั้งที่พันเขาจะลุกไม่ได้ แต่หลังจากที่เขาพยายามทำและไม่ท้อแท้ ทำให้ ณ วันนี้เขาสามารถลุกเดินได้สำเร็จ "ถ้าผมล้ม…แล้วยอมแพ้ คุณคิดว่าผมจะลุกขึ้นอีกได้ไหม" เป็นคำถามที่ "นิค" ถามกับทุกคน ซึ่งแน่นอนว่า คำตอบคือ "ไม่" แต่วันนี้ "นิค" สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่า ความพยายามและไม่ยอมแพ้ของเขา ทำให้เขาประสบความสำเร็จ ทั้งนี้นิคได้บอกทุกคนว่า หากเราเจออุปสรรคร้ายแรง แล้วเราสามารถลุกขึ้นมาได้ เราจะผ่านมันไปได้อย่างเข้มแข็ง ขอเพียงแค่ให้กำลังใจกับตัวเองเท่านั้น อย่างเช่นที่เขาพยายามทำอยู่ในทุกๆ วัน

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สาเหตุความพิการ


สาเหตุของความพิการ มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
     - กรรมพันธุ์ เป็นความผิดปกติของพันธุกรรม หรือยีนส์ เช่น ดาวน์ซินโดม ( Dowm Syndrom ) โรคเลือดออกไม่หยุด ( Hemophelia ) ถ้าพ่อแม่-ญาติพี่น้องพิการจากสาเหตุพันธุกรรมลูกหลานก็อาจพิการด้วย
     - สิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เป็นภัย เสี่ยงต่อการได้รับความพิการหรืออันตราย เช่น
การเป็นโรคติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน โปลิโอ หรือการขาดสารอาหาร ขาดไอโอดีน สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การได้รับสารพิษ อุบัติเหตุต่างๆ สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความพิการ และเป็นสาเหตุที่ป้องกันได
     - ไม่รู้สาเหตุ


ระยะที่อาจเกิดความพิการ
1. ขณะตั้งครรภ์

     - พ่อหรือแม่เป็นโรคติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส มาเลเรีย เอดส์ ฯลฯ
     - แม่ได้รับสารพิษและยาต่างๆ เช่น บุหรีสุรา ยาเสพติดทุกชนิด ยาแก้อักเสบ ยาขับเลือด สารรังสี ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น
     - เกิดการเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคไต ตับ หืด ไทรอยด์ โรคโลหิตจาง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
     - แม่ขาดสารอาหารที่มีคุณค่า เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ เช่น นม ไข่ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่างๆ ซึ่งจะให้อาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ
     - แม่ได้รับอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ เช่น ตกบันได ตกจากรถ จากที่สูง ซึ่งอาจทำให้แม่ตกเลือดได้
     - แม่ทำงานหนักเกินไปขณะตั้งครรภ์ ไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ
     - แม่ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
     - แม่มีอายุน้อยเกินไป(ต่ำกว่า 18 ปี )หรือมากเกินไป (มากกว่า 35 ปี )


2. ขณะคลอด
     การคลอดทุกครั้ง มีความเสี่ยงเสมอไม่มากก็น้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล หรือ ผดุงครรภ์ จะได้ช่วยเหลือทันท่วงที กำหนดการคลอด คลอดก่อน หรือหลังกำหนด 9 เดือน ขณะทำคลอด
     - การคลอดที่ให้เวลานานเกินไป ทำให้สมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ หรือการใช้เครื่องมือช่วยคลอดไม่ถูกวิธี
     - รกรอกตัวก่อนกำหนด เนื่องจากรกเกาะต่ำ ทำให้เสียเลือดมาก สมองขาดออกซิเจน
     - การคลอดติดขัด
     - ตกเลือด
     - รกพันคอเด็ก
     - เด็กสำลักน้ำคร่ำ
     - ตัวเล็ก
     - ท่าคลอดที่ผิดปกติ ต้องการความช่วยเหลือในการคลอดท่าปกติ เช่น เด็กเอาขาออกก่อนศีรษะ
     - ความพิการแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจรั่ว สมองผิดปกติ ปากแหว่ง ตาต้อ กระจกตาขุ่น หรือ ผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น เป็น ดาวน์ซินโดม ( Down Syndrome )

3. หลังคลอด ตั้งแต่แรกเกินจนถึงผู้ใหญ่
     - โรคติดเชื้อ เช่น เป็นไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โปลิโอ
     - เจ็บป่วย เช่น ชัก ท้องเสียบ่อยๆ สูญเสียน้ำมากๆ ชักบ่อยๆ ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง หรือได้รับการติดเชื้อที่มีผลกระทบแต่สมองหรือทำให้เด็กพิการได้
     - รับสารพิษ สารเคมี ได้รับสารพิษต่างๆ เช่น สารตะกั่ว รับพิษไอปรอทเรื้อรัง บุหรี่ สุรา ยาต่างๆ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท รังสีบางชนิดอาจทำให้ตาบอด สมองเสื่อม อัมพาต ฯลฯ
     - อวัยวะรับรู้ผิดปกติ เช่น ตาเข สายตายาวผิดปกติ หูน้ำหนวกเรื้อรัง
     - สภาพแวดล้อมเป็นพิษ เช่น เสียงเป็นพิษทำให้หูหนวก หูตึง
     - ขาดการกระตุ้นการเรียนรู้ เด็กขาดการกระตุ้นการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า
     - เลี้ยงดูไม่เหมาะสม เช่น เด็กถูกทอดทิ้ง ละเลย ทำให้ขาดโอกาสเรียนรู้ หรือถูกเร่งเรียนจนเด็กเครียดเกินไป
     - เจ็บป่วยไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที เด็กไม่ได้รับการดูแลรักษาะเมื่อเจ็บป่วย
     - ขาดภูมิคุ้มกัน ได้รับภูมิคุ้มกันไม่ครบตามกำหนด
     - ขาดสารอาหาร ขาดสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายและสมอง เช่น อาหารพวกผัก ผลไม้ เนื้อ นม ไข่ เป็นต้น
     - อุบัติเหตุ อุบัติเหตุมีผลกระทบต่อระบบสมอง หรือร่างกายจนทำให้พิการ เช่น รถชน ตกจากที่สูง เล่นของมีคม เล่นไฟฟ้า


     แหล่งที่มา http://www.sectrat.thport.com/articles.php?article_id=1

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนคนพิการ


          คนพิการที่ประสงค์จะจดทะเบียนคนพิการ เพื่อนำ “ สมุดประจำตัวคนพิการ ” ไปขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ต้องดำเนินการ ดังนี้

          1) สถานที่จดทะเบียน - คนพิการต้องไปจดทะเบียนคนพิการที่สถานที่ต่อไปนี้
                    -
สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 628 2518 - 9
                    - สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือจังหวัดที่คนพิการอาศัยอยู่

          2) เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน  เอกสารที่คนพิการต้องนำไปยื่นที่สถานที่จดทะเบียน ได้แก่
                    - เอกสารรับรองความพิการ  ขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
                    - ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัว ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน
                    - ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
          3) การจดทะเบียนแทน ถ้าคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเอง ให้มอบผู้อื่นไปจดทะเบียนแทน โดยผู้จดทะเบียนแทน ต้องนำเอกสารสำหรับต่อไปนี้ไปสถานที่จดทะเบียน เอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการในข้อ 2 ทั้งหมด
                    - เอกสารของผู้จดทะเบียนแทน ได้แก่ ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้
                    -
ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
                    - ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือหนังสือรับรองจากทางราชการ ซึ่งขอได้จากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ เป็นต้น
                    - คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้คนพิการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ
                    -
คำสั่งศาลเรื่องการจัดตั้งผู้ปกครองคนพิการ ในกรณีที่คนพิการไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองคนพิการ
                    - สมุดประจำตัวคนพิการ - คนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ ซึ่งต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อนึ่ง สมุดประจำตัวคนพิการมีอายุ 5 ปี เมื่อหมดกำหนดต้องไปจดทะเบียนใหม่ ถ้าสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความไปขอยื่นจดทะเบียนใหม่



ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.ziddu.com/download/10794161/2534.pdf.html

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเภทความพิการ

ประเภทความพิการจำแนกตามกระทรวงศึกษาธิการ เป็น 9 ประเภท

  1. บุคคลที่บกพร่องทางการเห็น
  2. บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน
  3. บุคคลที่บกพร่องทางกายหรือสุขภาพ
  4. บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา
  5. บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
  6. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และอารมณ์
  7. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  8. บุคคลออทิสติก
  9. บุคคลพิการซ้อน


ประเภทของคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

  1. คนพิการทางการมองเห็น
  2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย
  3. คนพิการทางการหรือการเคลื่อนไหว
  4. คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
  5. คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้