Custom Search

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

     เทคนิคการสอนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การเรียนการสอนของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้ประสบความสำเร็จทางการเรียน ซึ่งเทคนิคการสอนมีหลายวิธี ดังนี้
     1. เทคนิคการกระตุ้นเตือน เป็นเทคนิคสำคัญประการหนึ่งที่ใช้ในการช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้ ประเภทของการกระตุ้นเตือนที่นิยมใช่มี 4 ชนิด
          1.1 การเรียกร้องความสนใจจากเด็ก ( Elicitaion X เช่นการเคาะวัตถุที่ใช้ฝึกกับพื้นโต๊ะ หรือให้เด็กสบตา (eye - contact )โดยใช้รางวัลหลอกล่อ
          1.2 การกระตุ้นเตือนทางกาย ( Physical Prompting ) คือ จับมือของเด็กให้ทำงานส่วนที่ครูต้องการให้ทำ เมื่อเด็กทำได้ครูจะลดการช่วยเหลือลงเป็นสัมผัสเบา ๆ และเลื่อนจากการจับมือเป็นแตะข้อศอกและลดความช่วยเหลือจนเด็กสามารถทำได้เอง
          1.3 การกระตุ้นเตือนด้วยท่าทาง ( Gestural Prompting ) คือ การสาธิตวิธีปฏิบัติงานให้เด็กดู ให้เด็กเลียนแบบถ้าเด็กทำไม่ได้ ให้ชี้แนะด้วยการชี้ไปที่งานหรือวัตถุนั้น หรือ การมองด้วยใบหน้า สายตา
          1.4 การกระตุ้นด้วยวาจา ( Verbal Prompting ) คือการออกคำสั่งหรือชี้แจงด้วยคำพูดซึ่งครูต้องพยายามใช้คำสั่งสั้น ๆ และ ง่ายพอที่เด็กจะเข้าใจได้
     2. เทคนิคการวิเคราะห์งาน คือ การแตกงานออกเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ หรือ จำแนกเนื้อหาที่จะสอนเป็นขั้นตอนย่อย ๆ หลายขั้นตอน จัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
     3. เทคนิคการให้รางวัล ควรให้อย่างทันทีทันใด ภายหลังพฤติกรรม หรือเด็กทำงานได้สำเร็จ
     4. เทคนิคการตะล่อมกล่อมเกลา ( shaping ) คือ วิเคราะห์งานก่อนและให้รางวัลแก่การตอบสนองในขั้นตอนที่เด็กทำได้ ซึ่งขั้นตอนเหล่านนี้จะต้องต่อเนื่องไปสู่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
     5. เทคนิคการเลียนแบบ ให้เด็กเลียนแบบทำตามตัวอย่างที่ครูสาธิตให้ดู
     6. สื่อการสอน ครูจะต้องเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้เด็ก โดยสัมพันธ์กับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการ และวัสดุอุปกรณ์ต้องเพียงพอกับเด็กแต่ละคนในกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้อุปกรณ์ได้อย่างทั่วถึง

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ลักษณะของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ลักษณะของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
     บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะมีพัฒนาการตั้งแต่วัยทารกและตอนเด็กช้ากว่าเด็กปกติโดยทั่วไป มีร่างกายอ่อนแอ รูปร่างแคระแกร็น บางรายมีศีรษะค่อนข้างเล็ก บางรายศีรษะโต ประวัติการเจริญเติบโต ล่าช้า คือ มีการคว่ำ คลาน นั่ง ยืน เดิน ช้ากว่าเด็กปกติมาก เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่ฝึกได้มีลักษณะส่วนคล้ายคลึงกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนหนังสือ แต่ต่างกันที่ความรุนแรง เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่ฝึกมีปัญหาและความรุนแรงมากกว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนได้เนื่องจากที่ระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าลักษณะของเด็กอาจสรุปได้ดังนี้

          1. การเคลื่อนไหว เด็กประเภทนี้มีปัญหาในการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (แขนขา) และกล้ามเนื้อมัดเล็ก(นิ้วมือ) มีปัญหาในการทำงานประสานกันระหว่างมือกับสายตา
          2. การช่วยเหลือตนเอง เด็กประเภทนี้มีปัญหาในการช่วยเหลือตนเอง หากไม่ได้รับการฝึกอย่างเพียงพอจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี การเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นการช่วยเหลือตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การแต่งตัว การขับถ่าย
          3. ภาษาและการพูด เด็กประเภทนี้มีปัญหาในการพูด หลายคนพูดไม่ชัดมีความรู้ทางภาษาจำกัดหากได้รับการฝึกอย่างเพียงพอ เด็กจะสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้
          4. การเรียน เด็กมักประสบความล้มเหลวในการเรียน ครูต้องหมั่นทบทวนบทเรียนอยู่เสมอและมีความสามารถในการเรียนค่อนข้างจำกัด

ลักษณะท่าทางของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีดังนี้

          1. ลักษณะทางร่างกาย โดยทั่วไปบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มักมีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ คือ มือเท้าใหญ่กว่าปกติ บางคนมีลักษณะแคระแกรน บางคนก็สูงใหญ่ ต่างกับคนธรรมดา
               1.1 ศีรษะจะมีลักษณะเล็กผิดปกติ หรือมีลักษณะหัวกะโหลกเล็กเป็นรูปกรวย หรือ บางพวกมีลักษณะศีรษะใหญ่ผิดปกติ เพราะน้ำในสมองมาก ร่างกายไม่สามารถจะทนน้ำหนักได้ บางรายศีรษะบิดเบี้ยวและแบน
               1.2 ผม ลักษณะผมมักหยาบแข็ง มีขนตามร่างกายดกผิดปกติ ส่วนบางรายมีลักษณะตรงข้าม คือ ผมน้อย หรือ ผมบาง แต่ไม่ถึงกับล้าน มักจะเป็นโรคผิวหนังบนศีรษะ
               1.3 หน้าผากมักจะแคบผิดปกติ โคนผมเกือบถึงคิ้ว บางรายหน้าผากลาด
               1.4 ตา มักจะหรี่เล็ก หางลูกตาเฉียงขึ้นข้างบน มักเป็นโรคเกี่ยวกับทางตา เช่น ตาแดง หรือสายตาผิดปกติ บางรายมีเปลือกตาหนา
               1.5 หู ลักษณะรูปหูมักจะผิดปกติ ส่วนมากจะเป็นโรคหูตึง หรือ หูมีน้ำหนวก
               1.6 ปาก ริมฝีปากหนา ปากแบะ มักมีน้ำลายไหลยืดออกมาตลอดเวลา
               1.7 ฟัน มักจะเหยิน ฟัน ซี่โต ๆ ฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบ
               1.8 ลิ้น มักจะโตเกินขนาด ทำให้พูดไม่ชัด ลิ้นจุกปาก

          2. ลักษณะด้านพฤติกรรม ด้านพฤติกรรม คือ การพูด การทำความเข้าใจ การตัดสินใจมักช้าและเข้าใจผิดอยู่เสมอ โดยมี รายละเอียดดังนี้
               2.1 การพูด มักเริ่มพูดช้ากว่าเด็กปกติ พูดไม้ค่อยชัด และ พูดไม่รู้เรื่อง พูดแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ แม้จะอายุมากถึง 6 – 7 ปี แล้วก็ตาม บางรายพูดเป็นประโยคไม่ได้ ต้องพูดเป็นคำ ๆ
               2.2 การฟังและความเข้าใจ มักจะเขาใจผิด ๆ ต้องพูดหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ จึงจะเข้าใจ
               2.3 อิริยาบถและการเคลื่อนไหว มักใช้มือไม่ค่อยคล่อง เดิน วิ่ง ช้า อืดอาด ไม่มีความกระฉับกระเฉง การตัดสินใจ มักมีการตัดสินใจแผลง ๆ ไม่กลัวอันตราย ชอบออกนอกบ้านยามวิกาล
               2.4 สมาธิ มักขาดสมาธิและความสนใจ จะทำหรือเรียนสิ่งใดก็ได้ในช่วงเวลาอันสั้น
               2.5 ความจำ มักมีน้อย หรือ จำอะไรไม่ได้เลย แม้แต่ ชื่อพ่อ แม่ ก็จำไม่ได้ บางรายจำชื่อตนเองไม่ได้ สอนไปเรียนไปถามรู้เรื่องพอกลับมาถามอีกก็ไม่รู้เรื่อง
               2.6 อารมณ์ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เลย ใจน้อย รักแรงเกลียดแรง มักแสดงอาการเสียใจ ดีใจ โกรธ ผิดหวัง ออกมาโดยไม่มีการเสียแสร้ง

ลักษณะทางจิตวิทยา

          1. ลักษณะทางด้านการเรียนรู้ มีช่วงความสนใจสั้น สนใจบทเรียนได้ไม่นาน เสียสมาธิง่าย มีปัญหาในการหาความสัมพันธ์ ในด้านความจำ ในการถ่ายโยงความรู้ เรียนรู้ในลักษณะนามธรรมได้ยาก
          2. ลักษณะทางด้านภาษาและการพูด บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะ ปัญหาในทางภาษาและการพูดเป็นอย่างมาก ความสามารถทาง ภาษาจะต่ำกว่าระดับอายุสมอง
          3. ลักษณะด้านร่างกายและสุขภาพ ส่วนสูงและน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเด็กปกติ พัฒนาการตลอดจนความสามารถในด้าน การเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป การเจ็บป่วย และปัญหาเกี่ยวกับฟัน
          4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีปัญหาในการเรียนแทบทุกวิชา ผลการเรียนต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่าน และการเรียนคณิตศาสตร์