Custom Search

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเด็กสมาธิสั้น

     การที่จะวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรค ADHD จะต้องระวังเพราะหากว่าเป็นโรคนี้แล้วจะต้องให้การรักษาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นจะต้องแยกโรคที่มีลักษณะใกล้เคียงดังตัวอย่างเช่น เด็กปกติมาตลอดแต่เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต เด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เด็กที่หูชั้นกลางอักเสบจะมีปัญหาการสื่อสารกันทำให้เด็กมีปัญหาความสัมพันธ์ โรคที่มีลักษณะคล้ายกันเช่น
          -  ความบกพร่องในการเรียนรู้ ( learning disability : LD )
          -  โรคลมชัก
          -  มีปัญหาการได้ยิน
          -  เด็กเป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
    
     ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักจะพบร่วมกับโรคอะไรบ้าง
    
ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักมีปัญหาทางพฤติกรรม การเรียนรู้ และการเข้าสังคมดังนั้นเด็กบางคนอาจจะมีปัญหาที่พบร่วมกันโรคต่าง ๆ ที่อาจจะพบร่วมกันได้แก่
         
มีความบกพร่องในการเรียนรู้
         
Tourette's syndrome ผู้ป่วยจะมีการกระตุกของหน้า ร่วมกับการกระพริบตาถี่ๆ
         
มีภาวะต้านสังคม เริ่มแรกอาจจะมีการดื้อคำสั่ง ทำร้ายเพื่อเมื่อไม่พอใจ หรืออาจจะทำร้ายตัวเอง หากไม่แก้ไขก็อาจจะกลายเป็นภาวะต่อต้านสังคม อาจจะชอบขโมย จุดไฟเผา ทำลายทรัพย์สิน
         
มีความวิตกกังวลหรือซึมเศร้า

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
     สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ใครทราบว่าเกิดจากอะไร จากการศึกษาการทำงานของสมองของคนเป็นโรคสมาธิสั้นพบว่าสมองบางส่วนมีการทำงานน้อยกว่าปกติ และยังพบอีกว่าแม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีผลทำให้สมองเด็กมีปัญหาในการพัฒนา นอกจากนั้นยังพบว่าสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมก็น่าจะมีส่วนทำให้เกิดโรคนี้

การวินิจฉัยโรค
    
การวินิจฉัยโรคนี้มีความลำบากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป โดยที่พ่อแม่หรือคนใกล้ไม่ทันสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นการเกิดโรคก็สามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุ 3-7 ขวบ ดังนั้นโรคนี้มักจะวินิจฉัยโดยคุณครูเนื่องจากเด็กที่เป็นโรคจะแตกต่างจากเด็กอื่นค่อนข้างมาก

ขั้นตอนการวินิจฉัย
    
เมื่อแพทย์ได้รับการปรึกษาจากผู้ปกครองแพทย์จะเริ่มการตรวจวินิจฉัยโรคโดยมีขั้นตอนดังนี้
         
1. วินิจฉัยเพื่อแยกโรคอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
              
ตรวจดูสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียนว่ามีปัญหาความเครียดให้เด็กหรือไม่ พ่อแม่และครูแก้ปัญหาอย่างไร
              
ตรวจดูอารมณ์ของเด็ก
              
ตรวจโรคลมชัก
              
ตรวจเรื่องการได้ยินและการมองเห็น
               ตรวจเรื่องภูมิแพ้และอาหารที่มี caffiene หากเด็กได้รับมากเกินไปอาจจะทำให้เด็กเกิดซุกซน
         
2. แพทย์จะประเมินพฤติกรรมของเด็กว่าเข้าได้กับอาการของโรคสมาธิสั้นหรือไม่ นอกจากนั้นแพทย์อาจจะต้องเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กที่โรงเรียนและที่บ้าน
         
3. แพทย์จะให้ครูทั้งอดีตและปัจจุบันประเมินพฤติกรรมของเด็ก
         
4. มีการทดสอบความสามารถในการปรับตัว สุขภาพจิต IQ ของเด็ก
          
5. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินพฤติกรรมของเด็กในสิ่งแวดล้อมต่างกัน เช่นการอ่านหนังสือ ระหว่างคิดเลข ระหว่างการเล่นเกมส์

การใช้ยาในการรักษา
     ยาที่ใช้รักษาเด็กสมาธิสั้นที่ได้แก่ methylphenidate , dextroamphetamine ,  pemoline ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความไม่อยู่นิ่งของเด็กและช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียน ทำงาน การคัดลายมือ และการกีฬา แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่ายาเหล่านี้ไม่ใช่ยารักษาโรค ยานี้เป็นเพียงควบคุมอาการของโรค เชื่อว่าการใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับการใช้ พฤติกรรมบำบัด การดูแลด้านจิตใจ และการประคับประคองอย่างอื่นจะช่วยทำให้เด็กดีขึ้น
     ข้อที่ต้องระวังของการใช้ยาเหล่านี้ เนื่องจากยาเหล่านี้หากใช้ไม่ถูกต้องอาจจะเป็นเสพติด ดังนั้นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในเด็กมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องติดยา และเมื่อการรักษาได้ผลต้องให้กำลังใจเด็กว่ากว่าการชื่นชมว่าเป็นผลของยาเพราะจะทำให้เด็กต้องพึ่งยา

พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก
     ดังที่กล่าวข้างต้น เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม เด็กจะทรมานกับการทำการบ้านแต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น พี่น้อง ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจเนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟังพ่อแม่จะไม่สามารถควบคุมเด็ก เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ ตีแม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร พฤติกรรมการดุด่าและการลงโทษจะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่น ๆ ทั้งพ่อแม่และเด็กจะต้องปรึกษานักจิตเพื่อช่วยกันประคับประคองความรู้สึก พฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง พ่อและแม่ต้องพูดคุยกับแพทย์เพื่อที่จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัด ที่ตัวเด็ก และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง

ผู้ใหญ่ก็เป็นโรคสมาธิสั้น
     โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคที่เกิดกับเด็กเท่านั้น ปัจจุบันพบว่าผู้ใหญ่หลาย ๆ คนก็มีปัญหานี้ทำให้ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ลักษณะต่อไปนี้จะช่วยบ่งชี้ว่าท่านอาจจะเป็นโรคสมาธิสั้น และต้องได้รับการรักษา
         
มีประวัติบ่งชี้เป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก
          ใจร้อน โมโหง่าย
         
อารมณ์ขึ้นลงเร็ว
         
หุนหัน พลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ
         
สามารถทนกับความเครียด หรือสิ่งที่ทำให้คับข้องใจได้น้อย
          ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน
         
รอคอยอะไรนานๆไม่ได้
          มักจะทำงานหลายชิ้นในเวลาเดียวกัน และไม่สำเร็จสักชิ้น
          นั่งนิ่ง ๆ อยู่ได้ไม่นาน
          -  เบื่อง่าย ต้องการสิ่งเร้าใจอยู่เสมอ
         
ไม่มีระเบียบ
         
เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดในการทำงาน
         
ผิดนัด หรือลืมทำเรื่องสำคัญอยู่เสมอ
         
มีปัญหากับคนรอบข้าง เช่น สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน

ไม่มีความคิดเห็น: