Custom Search

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใครมีพ่อไม่เหมือนคนอื่น ดูคลิปนี้






"บางทีอาจจะไม่มีพ่อที่ดีที่สุด...แต่มีพ่อที่รักคุณมากที่สุด"



ที่มา :โฆษณาชุด "Silence Of Love" ของไทยประกันชีวิต

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น


   เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น  
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. เด็กตาบอด คือ เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้
2. เด็กสายตาเลือนราง คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ

   การให้ความช่วยเหลือ  
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้
1. ไม่ควรพูดกับเด็กโดยคิดว่าเด็กหูหนวก การที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นไม่ได้หมายความว่าหูตึงไปด้วย การใช้เสียงและน้ำเสียงที่มีความไพเราะอ่อนโยนจะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะรับรู้ถึงน้ำเสียงของคนพูดได้มาก และรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้พูดจากน้ำเสียงด้วย
2. หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย ต้องพูดกับเขาโดยตรง ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด
3. ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก
4. หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว
5. การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้

   การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับเด็กปกติ  
ในการสอนวิชาสามัญทั่วไปเด็กปกติเรียนตามหลักสูตรในโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเด็กมีความบกพร่องทางการเห็น สามารถเรียนรู้ได้เท่าหรือเกือบเท่าเด็กปกติ ถ้าครูใช้สื่อและวิธีการเหมาะสมจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา เกษตรและดนตรี เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นก็สามารถเรียนรู้ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะครอบคลุมทุกเรื่องทุกเนื้อหา ในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดที่เด็กกลุ่มนี้ทำไม่ได้หรือทำได้น้อย เช่น วิชาพละศึกษา วิชาคัดลายมือ และนาฏศิลป์ เป็นต้น

   อักษรเบลส์  
               อักษรเบลล์ คือระบบการเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอด ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มของจุดนูนเล็กๆใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6  ตำแหน่งซึ่งนำมาจัดสลับไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน๊ตดนตรี ฯลฯ ลงบนกระดาษ โดยการอ่านด้วยปลายนิ้วมือ วิธีการเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลท (Slate) และดินสอ (Stylus) ในส่วนของการพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเล่อร์ (Brailler) ระบบการอ่านการเขียนอักษรเบลล์สำหรับคนตาบอดนี้ได้คิดค้นและประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบลล์ (Louis Braille)


   การประเมินผล  
        เด็กที่มีความบดพร่องทางการเห็น ควรได้รับการประเมินผลการเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป แต่เขาอาจต้องการแบบจัดหรือข้อสอบที่แตกต่างจากเด็กปกติอยู่บ้าง เช่นอักษรตัวพิมพ์ขยายหากบอดสนิท หรือบกพร่องรุนแรงก็อาจใช้อักษรเบลล์ หรือฟังแถบบันทึกเสียง ผู้ที่ทำการประเมินต้องคำนึงถึงศักยภาพเป็นรายบุคคล ตลอดถึงต้องยืดหยุ่นเรื่องเวลาในการทำข้อสอบให้มากกว่าเด็กปกติ 20 %

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน



        เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งอาจเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวกก็ได้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 2 ประเภท คือ
1. เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง สามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง หรือไม่ก็ตามเด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูที่ดีกว่าอยู่ระหว่าง 26 – 89 เดซิเบล ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง 0 – 25  เดซิเบล
2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไปไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน

การให้ความช่วยเหลือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาทางการได้ยิน จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการฟัง-การพูดได้อย่างเต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารวิธีอื่นแทนการใช้ภาษาพูด วิธีการสื่อความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินอาจแบ่งเป็น 6 วิธี คือ
1. การพูด เหมาะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่มากนัก
2. ภาษา เหมาะสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวกซึ่งไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ด้วยการพูดจึงใช้ภาษามือแทน
3. การใช้ท่าทาง หมายถึง การใช้ท่าทางที่คิดขึ้นเองมักเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่ใช้ภาษามือและไม่ใช้น้ำเสียงแต่ใช้สายตาในการรับภาษา
4. การสะกดนิ้วมือ คือการที่บุคคลใช้นิ้วมือเป็นรูปต่างๆแทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุต์ ตลอดจนสัญลักษณ์อื่นของภาษาประจำชาติเพื่อสื่อภาษา
5. การอ่านริมฝีปาก  เป็นวิธีการที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินรับภาษาพูดจากผู้อื่น ดังนั้น การอ่านริมฝีปากจึงเป็นสิ่งแรกที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษาและเป็นสิ่งแรกที่เด็กต้องใช้ตลอดชีวิต
6. การสื่อสารรวม คือการสื่อสารตั้งแต่สองวิธีขึ้นไป เพื่อให้ผู้ฟังเดาความหมายในการแสดงออกของผู้พูดได้ดียิ่งขึ้นนอกจากการพูด การใช้ภาษามือ การแสดงท่าทางประกอบแล้วก็อาจใช้วิธีอ่านริมฝีปาก การอ่าน การเขียนหรือวิธีอื่นก็ได้

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับเด็กปกติ
        เมื่อมีเด็กมีความบกพร่องทางการได้ยินเข้ามาเรียนร่วมในชั้นเรียน ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรให้เด็กที่มีความบกพร่องนั่งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นและได้ยินผู้สอนได้ชัดเจน
2. ใช้ท่าทางประกอบคำพูดเพื่อให้เด็กเข้าใจคำพูดของครุแต่ไม่ควรแสดงท่าทางมาจนเกินไป
3. ครูควรเขียนกระดานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น นิยาม คำสั่ง หรือการบ้าน เป็นต้น
4. อย่าพูดขณะเขียนกระดานเพราะเด็กไม่สามารถอ่านปากของครูได้
5. เมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กควรใช้วิธีเรียกชื่อ ไม่ควรใช้วิธีแตะสัมผัส เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักฟัง
6. จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
7. ก่อนลงมือสอนควรตรวจเช็คเครื่องช่วยฟังว่าทำงานหรือไม่
8. ให้โอกาสแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินออกมารายงานหน้าชั้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกด้วยการพูด และขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กปกติได้ฝึกฟังการพูดภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
9. หากเด็กปกติออกมาพูดหน้าชั้น ครูผู้สอนควรสรุปสิ่งที่เด็กปกติพูดให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินฟังด้วย

การประเมินผล
        การประเมินผลสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ของนักเรียนแต่ละคนอย่างน้อยภาคเรียนละหนึ่งครั้ง วิธีจัดและประเมินผลก็ทำเช่นเดียวกันกับการจัดผลประเมินผลปกติ คือใช้แบบทดสอบ การสังเกตการสนทนา ให้ลงมือปฏิบัติตามคำสั่ง ทดสอบปากเปล่า ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลจะกำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ



          มีหลักการที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับและแต่ละประเภท และบำบัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เด็กพิการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาจนสามารถพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

          1. รูปแบบการเรียนในชั้นปกติตามเวลา เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติน้อยมากเด็กพิการสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติเช่นเดียวกับเด็กปกติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด

          2. รูปแบบการเรียนร่วม เป็นรูปแบบการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติ แต่อยู่ในระดับที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบนี้ มุ่งให้เด็กพิการได้รับการศึกษา ในสภาวะที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะรับได้

          3. รูปแบบเฉพาะความพิการ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก หรือพิการซ้ำซ้อนเป็นรูปแบบที่มีสภาพแวดล้อมจำกัดมากที่สุด แบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่
                    3.1 รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
                    3.2 รูปแบบการเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง
                    3.3 รูปแบบการฟื้นฟูในสมรรถภาพในสถาบันเฉพาะทาง
                    3..4 การบำบัดในโรงพยาบาลหรือบ้าน