Custom Search

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กสมาธิสั้น (ต่อ)


การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
        เมื่อเด็กสมาธิสั้นเข้าโรงเรียน พฤติกรรมที่พ่อแม่มองว่าน่ารักน่าเอ็นดูอาจเปลี่ยนแปลงไป จนเริ่มจะไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ และคุณครู ดังนั้นคุณครูที่มีเด็กสมาธิสั้นอยู่ในห้องมักจะควบคุมเด็กเพิ่มขึ้น เพ่งเล็งเด็กมากขึ้น เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนที่มีเด็กสมาธิสั้นเรียนอยู่ด้วยก็จะได้รับการว่ากล่าวมากกว่าห้องเรียนที่ไม่มีเด็กสมาธิสั้นเรียน
        สิ่งที่คุณครูควรทราบอีกสิ่งหนึ่งคือ  เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีระดับเชาว์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้อยรายจะมีปัญญาอ่อนร่วมด้วย บางรายอาจมีระดับเชาวน์ปัญญาดีเลิศ การที่เด็กสมาธิสั้นมิได้หมายความว่าเด็กจะเรียนไม่ได้ หรือมีปัญหาในการเรียนทุกรายไป เพียงแต่มีระยะเวลาติดตามการเรียนสั้นกว่าเด็กอื่น
        ปัญหาด้านการเรียนที่พบในเด็กสมาธิสั้นบ่อยที่สุด คือ ความบกพร่องในความสามารถด้านการอ่านหนังสือ การเขียน หรือการคิดคำนวณถึงร้อยละ 10-30  จึงเรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้มีปัญหาทางการเรียนรู้ ( Learning Disability ) จึงจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ
        เด็กสมาธิสั้นต้องการพ่อแม่   และคุณครูที่เข้าใจ โดยเฉพาะคุณครูจะให้ความช่วยเหลือเด็กได้เป็นอย่างดี   ส่งผลทำให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนเด็กสมาธิสั้น
        เด็กสมาธิสั้นควบคุมตนเองไม่ได้ จัดระเบียบให้ตนเองไม่ได้เหมือนกับเด็กทั่วไป   ครูต้องช่วยจัดระเบียบการเรียนไม่ให้ซับซ้อนเพื่อให้เด็กสามารถประสบความสำเร็จในการเรียน

กิจกรรมประจำวัน
        กิจกรรมในแต่วันต้องมีลักษณะคงที่ มีตารางเรียนแน่นอน   ครูต้องบอกล่วงหน้าและย้ำเตือนความจำทุกครั้งก่อนมีการเปลี่ยนแปลง หาป้าย ข้อความ สัญลักษณ์ หรือช่วยเหลือความจำเด็กในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น ให้เด็กเขียนชื่อวันบนปกหนังสือหรือสมุด เพื่อให้จัดตารางเรียนได้สะดวก

ไม่มีความคิดเห็น: