Custom Search

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น


   เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น  
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. เด็กตาบอด คือ เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้
2. เด็กสายตาเลือนราง คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ

   การให้ความช่วยเหลือ  
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้
1. ไม่ควรพูดกับเด็กโดยคิดว่าเด็กหูหนวก การที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นไม่ได้หมายความว่าหูตึงไปด้วย การใช้เสียงและน้ำเสียงที่มีความไพเราะอ่อนโยนจะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะรับรู้ถึงน้ำเสียงของคนพูดได้มาก และรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้พูดจากน้ำเสียงด้วย
2. หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย ต้องพูดกับเขาโดยตรง ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด
3. ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก
4. หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว
5. การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้

   การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับเด็กปกติ  
ในการสอนวิชาสามัญทั่วไปเด็กปกติเรียนตามหลักสูตรในโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเด็กมีความบกพร่องทางการเห็น สามารถเรียนรู้ได้เท่าหรือเกือบเท่าเด็กปกติ ถ้าครูใช้สื่อและวิธีการเหมาะสมจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา เกษตรและดนตรี เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นก็สามารถเรียนรู้ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะครอบคลุมทุกเรื่องทุกเนื้อหา ในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดที่เด็กกลุ่มนี้ทำไม่ได้หรือทำได้น้อย เช่น วิชาพละศึกษา วิชาคัดลายมือ และนาฏศิลป์ เป็นต้น

   อักษรเบลส์  
               อักษรเบลล์ คือระบบการเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอด ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มของจุดนูนเล็กๆใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6  ตำแหน่งซึ่งนำมาจัดสลับไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน๊ตดนตรี ฯลฯ ลงบนกระดาษ โดยการอ่านด้วยปลายนิ้วมือ วิธีการเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลท (Slate) และดินสอ (Stylus) ในส่วนของการพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเล่อร์ (Brailler) ระบบการอ่านการเขียนอักษรเบลล์สำหรับคนตาบอดนี้ได้คิดค้นและประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบลล์ (Louis Braille)


   การประเมินผล  
        เด็กที่มีความบดพร่องทางการเห็น ควรได้รับการประเมินผลการเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป แต่เขาอาจต้องการแบบจัดหรือข้อสอบที่แตกต่างจากเด็กปกติอยู่บ้าง เช่นอักษรตัวพิมพ์ขยายหากบอดสนิท หรือบกพร่องรุนแรงก็อาจใช้อักษรเบลล์ หรือฟังแถบบันทึกเสียง ผู้ที่ทำการประเมินต้องคำนึงถึงศักยภาพเป็นรายบุคคล ตลอดถึงต้องยืดหยุ่นเรื่องเวลาในการทำข้อสอบให้มากกว่าเด็กปกติ 20 %

ไม่มีความคิดเห็น: