Custom Search

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ( Children with intellectual disabilities )

KIM JAE WON กับ YOON DAE WON เด็กชายอายุ 3 ปี เป็นเด็กพิการทางด้านสติปัญญา
ซึ่งสมองบางส่วนถูกทำลายตั้งแต่เกิด ทำให้มีปัญหาในเรื่องการทรงตัว

     บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าบุคคลทั่วไปเมื่อวัดเชาว์ปัญญา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้ว มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป และ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไปอย่างน้อย 2 ทักษะหรือ มากกว่า จึงทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนกับเด็กปกติ และ มีพัฒนากรที่ไม่เหมาะสมกับวัย ทั้งนี้ลักษณะความบกพร่องดังกล่าวต้องเกิดก่อนอายุ 18 ปี

สาเหตุของการบกพร่องทางสติปัญญา
     สาเหตุของความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก เนื่องจากเป็นผลกระทบกระเทือนจากสมองภายใน ซึ่ง หมายความว่าเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุต่าง ๆ โดยการแบ่งการพิจารณาจากการเจริญเติบโตในระยะต่าง ๆ ของทารก คือ ตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ระยะหลังคลอดเป็นระยะที่เด็กยังอยู่ในวัยปฐมวัย แล้วมีเหตุใดเหตุหนึ่งมากระทบกระเทือนสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องทางสมองขึ้น แบ่งออกเป็น 3 สาเหตุ คือ
          1. สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โดย ความผิดปกติของพันธุกรรมทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนร่วมกับความผิดปกติทางร่างกาย
          2. สาเหตุจากชีวภาพ ได้แก่ สาเหตุที่ทำให้สมองหยุดชะงักการเจริญเติบโต ตั้งแต่
               2.1 ระยะก่อนคลอด
               2.2 ขณะคลอด
               2.3 หลังคลอด
          3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม
               3.1 ครอบครัว
               3.2 พ่อ แม่ ขาดการศึกษาและขาดความรู้ในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก

               3.3 ครอบครัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จำกัด ขาดสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้น ทำให้ขาดประสบการณ์ในการเรียนรู้ในการเรียนรู้

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในแต่ละระดับมีความแตกต่างตามช่วงอายุ ดังนี้
     ระดับปัญญาอ่อน ปฐมวัย (0- 5 ขวบ), วัยเรียน (6 –12 ปี), วัยผู้ใหญ่ (21 ปี ขึ้นไป) วุฒิภาวะและพัฒนาการ การศึกษา สังคมและอาชีพ
           1. ขั้นเล็กน้อย ( mild ) IQ ประมาณ 50 - 70 สามารถพัฒนาทักษะในการสื่อความหมายและทักษะทางสังคมได้ ยังไม่สามารถสังเกตความแตกต่างจากเด็กปกติได้มากนักจนกว่าเด็กจะโตขึ้น สามารถเรียนหนังสือได้สูงสุดประมาณชั้น ป. 6 เมื่อเด็กมีอายุในวัยรุ่นไม่สามารถเรียนวิชาสามัญได้เท่าเทียมกับเด็กปกติ ควรได้รับการศึกษาที่จัดเฉพาะเด็กประเภทนี้ สามารถประกอบอาชีพและอยู่ในสังคมได้ หากได้รักการศึกษาและการฝึกอาชีพอย่างเพียงพอ ต้องการดูแลและเอาใจใส่จากผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ
          2. ขั้นปานกลาง ( moderate ) IQ ประมาณ 35 - 49 สามารถพูดได้พอสื่อสารกับผู้อื่นได้มีพัฒนาการช้า พอช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องการการควบคุมดูแลจากผู้ใกล้ชิด สามารถเรียนหนังสือได้สูงสุดประมาณชั้น ป. 4 เมื่ออายุถึงวัยรุ่นหากได้รับการศึกษาที่เหมาะสม สามารถทำงานประเภทที่ไม่ต้องใช้ทักษะมากนัก ต้องการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใกล้ชิด
          3. ขั้นรุนแรง ( severe ) IQ ประมาณ 20 - 34 มีปัญหาในการเคลื่อนไหว พูดไม่ค่อยได้หรือพูดไม่ได้เลย ช่วยตัวเองไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ได้ สอนพูดได้บ้าง ฝึกเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัยได้บ้าง ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใกล้ชิด ช่วยตัวเองได้บ้างแต่น้อย
          4. ขั้นรุนแรงมาก ( profound ) IQ ต่ำกว่า 20 ช่วยตัวเองไม่ได้ มีความสามารถน้อยที่สุด ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ ฝึกให้ช่วยตัวเองได้บ้าง แต่ไม่ค่อยได้ผลมากนัก ช่วยตัวเองไม่ได้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

     จากระดับ IQ จะเห็นได้ว่าระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ ตั้งแต่ I.Q. 90 ลงมา ถือว่าเป็นระดับที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
           1. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ และมีความต้องการในด้านการเรียนในรูปแบบของ ชั้นพิเศษเต็มเวลา หรือ บางเวลาในโรงเรียนปกติเด็กเหล่านี้จะมีระดับเชาว์ปัญญา ( I.Q ) 71 - 90 ซึ่งขาดทักษะในการเรียนรู้หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย
          2. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทำให้มีความยากลำบากต่อการดำรงชีวิต แบ่งตามระดับ เชาว์ปัญญา ( I.Q ) ได้ 4 พวก คือ
               2.1 ปัญญาอ่อนขนาดน้อยพอเรียนได้ (Educable mentally retarded) มีระดับเชาวน์ปัญญา 50–70 มักใช้คำย่อๆ ว่า E.M.R. เด็กพวกนี้พอจะเรียนได้ในชั้นพิเศษใช้หลักสูตรตามหลักการศึกษาพิเศษสามารถฝึกอาชีพ และสอนอย่างง่ายๆ ได้
               2.2 ปัญญาอ่อนขนาดปานกลางหรือขนาดพอฝึกได้ (Trainable mentally retarded) หรือขนาดพอฝึกได้ มักใช้คำย่อว่า T.M.R. มีระดับเชาวน์ปัญญา 35–49 พอจะฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ และสามารถฝึกอาชีพหรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ พวกนี้ต้องการเรียนและฝึกอบรมในโปรแกรมการศึกษาชั้นพิเศษ หรือโรงเรียนพิเศษ
               2.3 ปัญญาอ่อนขนาดหนัก (Severely mentally retarded) มีระดับเชาวน์ปัญญา 20 – 34 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องฝึกหัดการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
               2.4 ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก (Profoundly mentally retarded) มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 20 เป็นพวกที่ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น: