Custom Search

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome)


     Down Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางโครโมโซม และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคที่ทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มอาการดาวน์เหล่านี้จะมีโครโมโซม 47 โครโมโซม ซึ่งในความเป็นจริงคนปกติจะมีโครโมโซม 46 โครโมโซมต่อ 1 เซลล์ โดยสาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม

โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม


ลักษณะของเด็กอาการดาวน์

     โดยทั่วไปแล้วเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) จะมีความผิดปกติใน 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ และระดับสติปัญญา

           - ลักษณะทางร่างกาย พบว่าเด็กจะมีรูปร่างท้วมใหญ่ คอสั้น กะโหลกศีรษะเล็ก มีแผ่นหลังแบน รูปร่างของใบหน้าจะมีลักษณะเฉียงขึ้น ตาห่างและชี้ขึ้นข้างบน จมูกเล็กแบน ผิวหนังระหว่างตาจะมีรอยย่น มีลิ้นขนาดใหญ่และคับปาก หูส่วนนอกอยู่ต่ำ และมีคางขนาดเล็ก มือกว้างและสั้น นิ้วก้อยโค้งงอ ลายมือมีลักษณะมีเส้นขวางฝ่ามือ (Simian line) นอกจากนี้ ในระบบของกล้ามเนื้อและกระดูกพบว่า มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย ข้อต่อยืดได้มาก (Hyperextensive Joint) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบผิวหนังมีความยืดหยุ่นน้อย ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการ โดยจะทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กช้ากว่าปกติ ดังนั้น เด็กจะมีปัญหาในการชันคอ นั่ง ยืน และเดินทุกขั้น ตอนช้ากว่าปกติ
          - ภาวะทางอารมณ์และพฤติกรรม ส่วนมากเด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีความอ่อนโยน ยิ้มแย้ม แจ่มใส อารมณ์ดี หัวอ่อน สอนง่าย ร่าเริง เข้ากับผู้อื่นได้ดี แต่มักจะมีภาวะอาการสมาธิสั้น
          - ด้านสติปัญญา เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเด็กปกติ อย่างไรก็ตาม เด็ก กลุ่มนี้จะมีระดับสติปัญญาแตกต่างกันหลายระดับ ซึ่งพบว่า เด็กที่ยิ่งมีระดับสติปัญญาต่ำก็จะมีปัญหาทาง พัฒนาการในด้านอื่นๆ มากขึ้นตามไปด้วย

แนวทางการบำบัดรักษาเด็กกลุ่มอาการดาวน์

     เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีปัญหาเช่นเดียวกับเด็กที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดอื่นๆ คือไม่มีทางรักษาให้ หายเป็นปกติได้ การรักษาจึงมุ่งเน้นการให้การบำบัดเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การให้การยอมรับจากบุคคลในครอบครัวเพื่อเอื้อให้เด็กได้รับโอกาสในการบำบัดรักษาที่ถูกวิธี และเน้นการบำบัดรักษาแบบผสมผสานในด้านต่างๆ ได้แก่

     ด้านการแพทย์ : เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะอาการของโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ หรือปัญหาด้านการได้ยิน และด้านสายตา จึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

      ด้านกิจกรรมบำบัด : เป็นการบำบัดรักษา โดยเน้นการกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก การทำงานประสานกันของมือและตา เช่น การหยิบจับ การเขียน การปั้น การตัดกระดาษ เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่ การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การสวม-ถอดเสื้อผ้า ทักษะการเล่น และทักษะด้านสังคม

     ด้านการแก้ไขการพูด : เป็นการช่วยลดปัญหาด้านการพูด ซึ่งเด็กกลุ่มอาการดาวน์มักจะพูดช้า พูดไม่ชัด หรือมีพัฒนาการด้านภาษาไม่สมวัย โดยนักแก้ไขการพูดจะทำการประเมิน และจัดโปรแกรมการฝึกพูดแก่เด็กเป็นรายบุคคล

     ด้านการศึกษาพิเศษ : เนื่องจากเด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ จึงเกิด ปัญหาด้านการเรียนรู้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกสอนจากนักการศึกษาพิเศษเพื่อซ่อมเสริมความสามารถ และทักษะด้านการเรียนรู้ให้ดีมากขึ้น

การเจริญเติมโตของเด็กปกติ กับเด็กดาวน์ เมื่ออยู่ในครรถ์

ภาพ     จาก  Internet
ข้อมูล  จาก  www.specialchild.co.th

ไม่มีความคิดเห็น: