Custom Search

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สมาธิสั้น ( Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD )


     หากท่านมีลูกคนหนึ่งซนมาก อยู่ไม่เป็นที่ เบื่อง่าย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสนใจถูกหักเหโดยแสง สี เสียงเพียงเล็กน้อย อาการต่าง ๆ ที่กล่าวเป็นอาการของเด็กสมาธิสั้นหรือที่เรียกว่า Attention Deficit Hyperactive Disorder เด็กจะไม่สามารถนั่งวางแผนหรือทำงานให้สำเร็จลุล่วง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถทำงานที่ใช้ทักษะ โรคนี้พบมากในเด็กประมาณร้อยละ 3 - 5 พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2 - 3 เท่า อาการนี้สามารถดำเนินจนถึงวัยรุ่นทำให้เกิดความเครียด

อาการของเด็กสมาธิสั้น
     การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนการตรวจโรคทั่วไป ที่สามารถเห็นด้วยตาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นจะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
 
     1. การขาดสมาธิ ( Inattention )          
          -  เด็กจะสนใจงานหรือของเล่นเพียงไม่นานหลังจากนั้นก็จะเบื่อ
         
-  ไม่มีความพยายามที่จะทำงานที่ต้องใช้ทักษะ
         
-  มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
         
-  ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
         
-  ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเวลาเล่น
         
-  ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดไม่ได้
         
-  ขี้ลืมบ่อย
         
-  วอกแวกง่าย

     2. เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้ ( Hyperactivity )         
          - เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
         
- เล่นไปรอบห้อง
         
- พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด
         
- เมื่อนั่งอยู่ที่เก้าอี้ก็ไม่สามารถนั่งนิ่ง จะโยกไปโยกมา
         
- แตะสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา
         
- เคาะโต๊ะส่งเสียงดัง
         
- รอคอยไม่เป็น
         
- ชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน
         
- บางคนอาจจะทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน

     3.  เด็กจะหุนหัน ( Impulsivity )
          เด็กจะทำ หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด เด็กอาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ เด็กจะไม่สามารถรอยคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กอาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจเด็กอาจจะทำลายของเล่นนั้น
    
     ในการประเมินว่าเด็กคนใดจะเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น แพทย์จะประเมินพฤติกรรมเป็นมากเกินไปหรือไม่ เป็นระยะเวลานานหรือไม่ อาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเทียบกับเด็กอื่นที่อายุใกล้เคียงกันมีความแตกต่างกันหรือไม่ พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเป็นเพียงตอบสนองต่อเหตุการณ์บางอย่างหรือไม่ พฤติกรรมนั้นเกิดซ้ำ ๆ กันต่างเวลาและต่างสถานที่ แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะมีเกณฑ์วินิจฉัยโรคสมาธิสั้นดังต่อไปนี้

     1. อาการที่แสดงว่าเด็กอยู่ในภาวะที่มีสมาธิสั้น inattention        
         
-  สมาธิของเด็กจะไขว้เขวได้ง่ายโดยอาจจะเกิดจากสิ่งที่มากระทบเพียงเล็กน้อย
         
-  เด็กจะไม่สามารถให้ความสนใจกับรายละเอียด และมักจะเกิดการผิดพลาดจากความประมาท
         
-  มักจะไม่ทำตามคำแนะนำ
         
-  มักจะทำของหายบ่อย เช่น ดินสอ ตุ๊กตา สมุด

     2. อาการที่แสดงว่าเด็กไม่อยู่นิ่ง hyperactivity และ impulsivity        
         
-  เด็กจะไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นคนอยู่ไม่สุข มือและเท้าหยุกหยิกอยู่ตลอดเวลา
         
-   วิ่ง ปีนป่าย หรือลุกจากเก้าในขณะที่เด็กอื่นนั่งกันหมด
         
-  พูดโพล่สวนออกมาโดยที่ยังฟังคำถามไม่เสร็จ
         
-  ไม่สามารถเข้าแถวรอได้
     แต่อย่างไรก็ตามเด็กปกติการสามารถมีอาการเหล่านี้ได้ ดังนั้นการวินิจฉัยจะต้องอาศัยเกณฑ์คือ
          1.  พฤติกรรมเหล่านี้จะต้องเกิดก่อนอายุ 7 ขวบ
          2.  เป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน
          3.  พฤติกรรมของเด็กจะต้องรุนแรงและมากกว่าเด็กปกติ
          4.  พฤติกรรมเหล่านี้ต้องเกิดอย่างน้อย 2 แห่ง เช่น บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน ที่สาธารณะ


ภาพจาก : Internet

ไม่มีความคิดเห็น: