Custom Search

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การดูแลเด็กพิการทางสมอง (CP)



     แม้จะมีกลุ่มอาการของเด็ก  Cerebral palsy (C.P.) มากมายแต่ที่เราพอจะให้ความช่วยเหลือและรักษาได้คือ พวก spasticity เท่านั้นในการดูแลรักษาเราจะแบ่งเด็ก spastic cerebral palsy ออกเป็น
     1. Hemiplegia คือพวกที่มี   spasticity ของแขนและขาข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งปกติ
     2. Double hemiplegia   คือ มีลักษณะของ hemiplegia ทั้ง 2 ข้างเพียงแต่ความรุนแรงของแต่ละข้างไม่เท่ากัน
     3. quadriplegia  หรือ total body involvement  พวกนี้มี  involvement ของทั้งแขนและขาทั้ง 2 ข้างเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ของ cases  พวกนี้มักจะมี neck  หรือ  cranial nerve involvement   ด้วย  ปัจจุบันจึงนิยมที่จะเรียก total body  involvement  มากกว่า quadriplegia
     4. Diplegia คือ involved มากเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง ในขณะที่แขนทั้ง 2 ข้าง gross movement เกือบจะปกติมีเฉพาะส่วนของ fine movement เท่านั้นที่ถูก involved
     5. อื่น ๆ เช่น monoplegia, paraplegia, triplegia พบน้อยมาก โดยเฉพาะ paraplegia ในกรณีนี้ควร rule out spinal cord lesion ออกก่อน ก่อนที่จะบอกว่าเป็น Cerebral palsy ชนิด paraplegia

การรักษา แบ่งเป็นการรักษาด้านกระดูกและข้อ และการรักษาด้านอื่นๆ
     1.ป้องกันความผิดรูปของข้อ ต่างๆ โดยใช้ วิธีทาง
          - กายภาพบำบัด(Physical Therapy) จะช่วยให้เด็กซีพี เรียนรู้การเคลื่อนไหวและการปรับสมดุลย์ของร่างกายได้ดีขึ้น
          - อรรถบำบัด (Speech and Language Therapy) เด็กๆ ที่เป็นซีพี จะได้ฝึกทักษะการสื่อสาร
     2.ลดความเกร็ง โดยใช้ยา
          - ยากิน กลุ่ม diazepam
          - ยาฉีด เฉพาะที่ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือกลุ่ม Botox
     3.การผ่าตัด
          - การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึง
          - การย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
          - การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว
     4. การให้การดูแลรวมถึงให้กำลังใจ โดยพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ กับการพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก
     5.การรักษาด้านอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง ใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้าน จิตเวช


ไม่มีความคิดเห็น: