Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ฮอร์โมนที่มีผลอย่างชัดเจนต่อการเจริญเติบโตในเด็ก


          ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone) 
          ถูกสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) อันเป็นต่อมขนาดเล็กอยู่บริเวณฐานของสมอง ฮอร์โมนนี้มีความจำเป็นโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย หากเกิดการเสียสมดุลของระดับฮอร์โมนนี้ขึ้นเมื่อใด จะส่งผลกระทบที่สังเกตได้อย่างชัดเจน

          ธัยร๊อกซิน (Thyroxine)
          หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ธัยรอยด์ฮอร์โมน ถูกสร้างและหลั่งจากต่อม ธัยรอยด์ที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบการเผาผลาญอาหารของร่างกาย และช่วยให้ กระดูกมีพัฒนาการอย่างปกติ

          แอนโดรเจน (Androgen) 
          ก็คือฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง ถูกสร้างขึ้นที่อัณฑะและต่อมหมวกไตในเด็กชาย ในเด็กหญิงก็มีบ้างแต่ในปริมาณที่น้อย โดยถูกสร้างจากรังไข่และต่อมหมวกไต แอนโดรเจนจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตในการกระตุ้นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเด็กชายช่วงวัยเจริญพันธุ์

          เอสโตรเจน (Estrogen) 
          หรือฮอร์โมนเพศหญิง จะถูกสร้างขึ้นที่รังไข่ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาการต่าง ๆ ทางเพศของเด็กหญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์

          อินซูลิน (Insulin) 
          ถูกสร้างและหลั่งจากตับอ่อน มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาลเพื่อนำไปใช้ เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ระดับของอินซูลินจึงมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของร่างกาย

          คอร์ติซอล (Cortisol)
          หลั่งจากต่อมหมวกไตเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อร่างกายต้องตอบสนองต่อสภาวะเครียด การที่มีระดับของคอร์ติซอลสูงเกินไป อาจมีผลรบกวนการเจริญเติบโตตามปกติได้


ไม่มีความคิดเห็น: