Custom Search

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่อง ที่เด็กออกทิสติกอยากให้คุณรู้ (ต่อ)


          3. กรุณาแยกแยะให้ออกว่า "ไม่ทำ" (หนูปฎิเสธที่จะไม่ทำ) และ "ไม่สามารถ" (หนูทำไม่ได้จริง ๆ) นั้นไม่เหมือนกัน

          สิ่งท้าทายหนูอย่างยิ่ง คือ ภาษาและคำศัพท์ที่ใช้ตอบรับหรือแสดงออก ไม่ใชว่าหนูไม่ฟังคำสั่ง แต่เมื่อคุณส่งเสียงสั่งหนูมาจากอีกฟากหนึ่งของห้อง หนจะได้ยินว่าอย่างนี้ " *#$#.@!%  ต้อม #.*#@$# " คุณควรที่จะเดินมา บอกหนูตรง ๆ ว่า "เก็บหนังสือเข้าโต๊ะเถอะ ต้อม ได้เวลาไปทานข้าวกลางวันแล้ว" คำพูดอย่างนี้จะบอกหนูได้ชัดเจนว่าคุณอยากให้หนูทำอะไร และจะเกิดอะไรต่อไป ทำให้ง่ายขึ้นที่หนูจะทำตามได้ถูก


          4. หนูเป็นนักคิดที่ตรงไป ตรงมา แปลว่า หนูจะตีความภาษาตามคำที่พูด

          หนูจะงงมากหากคุณบอกหนูว่า "เพลา ๆ ไว้ อย่าเร็วนัก" เมื่อคุณตั้งใจจะหมายความว่า "กรุณาอย่างวิ่ง" อย่าบอกหนูว่า "เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก" ในเมื่อไม่มีกล้วยซักใบให้เห็น และคุณตั้งใจจะพูดว่า "งานนี้จะง่ายมากสำหรับหนู" เวลาคุณพูดว่า "จอยไวเหมือนลมกรด" หนูจะเห็นว่าเด็กกำลังเล่นกับน้ำกรด กรุณาบอกว่า "จอยวิ่งได้เร็วมาก" ดีกว่า

          ทั้งคำเปรียบเทียบ คำล้อ คำผวน คำอ้างอิง ความหมายสองแง่สองง่าม ภาพพจน์ การประชดประชัน หนูจะไม่รู้เรื่องและตีความไม่ได้เลย


          5. กรุณาอดทนหากหนูใช้คำพูดไม่ถูก

          เพราะหนูจะรู้ศัพท์น้อยจนไม่อาจบรรยายความรู้สึกตัวเองได้ดี หนูอาจจะกำลังหิวจัด หงุดหงิด กลัว หรือสับสน แต่ตอนนี้ คำเหล่านี้อยู่เกินความสามารถของหนูที่จะนำมาใช้ใช้ ควรดูภาษากายของหนูไว้ให้ดี ๆ หากหนูหลีกหนี หงุดหงิด หรือแสดงอาการอื่น ๆ เป็นการบอกให้รู้ว่า ชักเริ่มไม่ดีแล้ว หรืออาจจะมีอีกแบบหนึ่ง เมื่อฟังหนูพูดแล้วอาจเหมือน "ท่านอาจารย์น้อย" หรือ ดาราดาวรุ่ง ที่สามารถแสดงปาฐก โดยใช้คำยาก ๆ หรือบทสนทนาที่ดูเกินวัยหนูอย่างมาก เพราะหนู่รู้ว่าหากมีคนพูดกับหนู หนูต้องตอบ บทพูดเหล่านี้หนูจำมาจากหนังสือ ทีวี หรือคำคนอื่น ๆ เห็นอาการที่เรียกว่า "เอคโคเลเลีย" อันที่จริง หนูอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่หนูพูดอยู่เลยก็ได้ หนูรู้แต่ว่า เป็นอะไรที่ถือว่าเป็นคำตอบได้ ไม่ต้องไปตอบอย่างอื่น และหนูจะรอดตัวไปได้


                                                                                                                                    (ต่อ)


ไม่มีความคิดเห็น: